วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

วางแผนชีวิต เรียน ทำงาน ที่อเมริกา Green Card หรือ F-1 คุ้มกว่า?




ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นการเข้าถึงข้อมูลหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงว่าที่ไม่รู้ แปลว่าไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เรายังค้นหาเส้นทางที่จะเดินไปไม่เจอต่างหาก โดยเฉพาะยุคแห่ง Social Network ทำให้นึกถึงสมัยก่อนที่มีจดหมายลูกโซ่ ข่าวลือ ที่ส่งต่อๆ กันไป แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นยังมีคงอยู่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนชื่อในการส่ง จากกระดาษ มาเป็น Social Network  ดังนั้นการรับข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องสังเกตแหล่งอ้างอิง และที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์ภาครัฐ หรือ กระทรวงต่างๆ เป็นต้น  ในเมื่อมีโอกาสที่เราจะค้นหาเส้นทางที่เหมาะกับเราที่สุด แล้วทำไมเราจะไม่ค้นหา? ทั้งการวางแผนชีวิต การวางแผนการเรียน การทำงาน  หลายคนอยากไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ เรียน ทำงาน และอยู่ต่างประเทศ เป็นอีกความฝันที่จะไปล่าให้ได้ แล้วกลับมาเกษียณที่เมืองไทยของเรา หากคุณมีความฝันเช่นกัน เคยวางแผนและศึกษาข้อมูลถึงจุดไหนแล้ว? มีความฝัน แล้วต้องลงมือทำ เชื่อเราทำได้ ใจเราทำได้ การกระทำเกิดขึ้น แล้วเราจะรู้การวางแผนของเรา

อเมริกา เป็นแหล่งรวมที่ใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบัน แต่ละคนมีมุมมองแตกต่างกันไป สิทธิ เสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นเราเท่าเทียมกัน  การไปเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกา มีค่าใช้จ่ายสูงมาก คนไทยไม่ค่อยนิยม เรานิยมไปเรียน ปริญญาโท ใช้เวลาเรียน 2 ปี หรือ มากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผน  สังเกตหลายคนไปเรียน และทำงานไปด้วย  เคยเห็นนักเรียนไทยมาทำงานด้านนอกด้วย  ถามว่าผิดกฏหมายไหม เพราะการไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ F-1 visa ซึ่งไม่สามารถทำงานได้  ไม่ว่าจะไปเรียนภาษา หรือ เรียนระดับมหาวิทยาลัย  ในหลักการผิดแน่นอน แต่สำหรับมหาวิทยาลัย ถ้าทางมหาวิทยาลัยมีหนังสืออนุญาตให้ทำงานได้ตามชั่วโมงและสถานที่มหาวิทยาลัยระบุเท่านั้นจะสามารถทำได้  สำหรับเรียนภาษา ผิดกฏหมาย 100% แต่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเลือกที่จะทำเช่นนั้น เพื่อหาเงินใช้ในชีวิตประจำวัน หรืเหตุผลต่าง ๆ  แล้วเมื่อเรียนจบแล้ว วางแผนชีวิตอย่างไร? วีซ่า F-1 มีอายุ 5 ปี ยังเหลืออีก 3 ปี จะลงเรียนอะไรต่อ เพื่อให้มีสถานะอยู่ที่อเมริกา หรือ จะไปสมัครงานกับนายจ้าง แต่ก็ทำไม่ได้ ถ้านายจ้างไม่ Sponsor H1-B visa ให้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง และสร้างความลำบากให้กับนายจ้าง ถ้าเราไม่เจ๋งจริง ก็คงจะไม่ได้ H1-B ที่จะทำงานที่อเมริกา แถมต่ออายุทุก 2 ปี ขึ้นอยู่กับนายจ้าง  ถ้าไม่ได้งาน บินกลับไทย มาทำงานเงินเดือนทั่วไป แล้วเราลงทุนไปเรียนที่อเมริกา จ่ายค่าเทอมไป 2-3 ล้านเพื่อกลับมาทำงานรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย?

เราลองมองวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เมื่อจบ high school จะขอ scholarship แล้วทำงานเก็บเงินตั้งแต่ Freshman ใน high school เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และเก็บไว้สำหรับเรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือ ตอนจบ ปริญญาตรีก็มาทำงานเก็บเงินก่อน แล้วค่อยไปเรียนต่อปริญญาโท ถ้าสนใจ แล้วเลือกสาขาที่เกี่ยวกับอาชีพที่ต้องการทำจริงๆ ไม่ใช่แค่เรียนให้จบ ทำไมเราไปทำแบบนี้ไม่ได้บ้าง? คำตอบ คือ ทำได้ เราแค่ไม่เจอเส้นทางเท่านั้นเอง  เส้นทางที่สามารถทำได้ แต่เราไม่เคยสนใจ หรือ ไม่ได้ลงไปศึกษาข้อมูลจริง เพราะเราฟังมาแต่ข่าวลือ ฟังคนเล่าต่อๆ กันมา เลยคิดว่าทำไม่ได้  การไปทำงาน เรียน หรือ ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา อย่างถูกต้องตามกฏหมาย คำตอบคือ กรีนการ์ด หรือ Permanent Resident นั่นเอง  เมื่อเราได้กรีนการ์ด เราสามารถไปเริ่มต้นทำงาน เก็บเงิน อยากทำงานอะไรก็ได้ เป็นสิทธิของเรา จะลงเรียนต่อก็ได้ ทำงานระหว่างเรียนไปด้วยก็ได้


ลองเปรียบเทียบค่าเทอม MBA ระหว่างถือวีซ่า F-1 และ Green Card
Rank #18: University of North Carolina--Chapel Hill (Kenan-Flagler)
$34,015 per year (full-time, in-state)
$52,470 per year (full-time, out-of-state)

Rank#27: Texas A&M University--College Station (Mays)
$7,929 per year (full-time, in-state)
$20,319 per year (full-time, out-of-state)

Rank#33 Tie: University of Texas—Dallas
$15,242 per year (full-time, in-state)
$30,866 per year (full-time, out-of-state)

Rank#33 Tie: University of Wisconsin—Madison
$13,183 per year (full-time, in-state)
$26,678 per year (full-time, out-of-state)

Rank 37 Tie# Michigan State University (Broad)
$28,278 per year (full-time, in-state)
$44,860 per year (full-time, out-of-state)

ถ้าเปรียบเทียบจะสังเกต in-state ค่าเทอมจะต่ำกว่าครึ่งของ out-of-state และแน่นอน กรีนการ์ด มีสิทธิ์ในการจ่ายค่าเทอมแบบ in-state โดยมีถิ่นฐานพักอาศัยอยู่ในรัฐนั้นอย่างน้อย 12 เดือนขึ้นไป  แล้ว F-1 จ่ายค่าเทอมแบบ out-of-state  ดังนั้นเรียน 2 ปี ถ้าถือกรีนการ์ด ลดค่าเทอมไปได้ 2-3 หมื่นเหรียญ ที่สำคัญกรีนการ์ด สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่ง F-1 ไม่สามารถทำได้  และหลังจากเรียนจบ กรีนการ์ด ก็สามารถทำงานได้เลย ไม่ต้องให้นายจ้าง Sponsor H1-B visa ส่งผลให้นายจ้างตัดสินใจรับเราเข้าทำงานง่ายขึ้น

แล้ว การขอกรีนการ์ดง่ายขนาดนั้นหรอ? 
คำตอบ ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของเรา
การขอกรีนการ์ด สามารถยื่นขอได้ 4 ประเภทหลัก คือ
1. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (Immigration through a Family Member)
2. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงาน (Immigration through Employment)
3. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางโครงการเสี่ยงโชคกรีนการ์ด (Immigration through the Diversity Lottery)
4. การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านการลงทุน (Immigration through Investment)

คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักประเภทที่ 1 และ 3 ส่วนประเภทที่ผ่านการจ้างงาน กับ ผ่านการลงทุน คนไทยจะไม่ค่อยรู้จัก  แต่การลงทุนพอได้ยินบ้าง  แต่ผ่านการจ้างงานแทบไม่รู้จักเลย  เมื่อลงรายละเอียดว่า การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงานมี 5 ประเภท คือ EB-1, EB-2, EB-3, EB-4 และ EB-5 ส่วนใหญ่ก็จะไม่รู้จักเลย  ตอนนี้ชี้ให้เห็นเส้นทาง คือ EB-3 ซึ่งมี Sub-category  คือ Skilled Workers, Professionals และ Unskilled Workers (Other Workers)  ใน 2 อันแรกยากเพราะแข่งขันสูง ส่วน Unskilled workers เป็นช่องทางที่เหมาะที่สุด และการแข่งขันไม่สูงมาก  ถ้ามองเห็นเส้นทางแล้ว ด้านแรกที่ทำให้ไปต่อไม่ได้คือ การหานายจ้างที่ได้รับการรับรองจาก Department of Labor (DOL) ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินงานที่โรงงานสับไก่ หรือ งานทำความสะอาด เป็น unskilled worker สามารถขอการรับรองจาก DOL ได้ไหม คำตอบคือขอได้จริง แต่นายจ้างต้องเป็นบริษัทใหญ่ มีคนงานหลายพันคน และขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเป็นเส้นทางตามมา ทั้งคนไทยที่ยังอยู่ในประเทศ หรือ คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ หรือแม้แต่เรียนอยู่อเมริกาถือ F-1 ก็สามารถยื่นได้  เมื่อเราสามารถหานายจ้างได้  เมื่อได้กรีนการ์ด เราก็ทำงาน เก็บเงิน เรียนต่อ ป. โท ตามที่เราตั้งใจใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา พร้อมสิทธิต่างๆ เช่น การสามารถยื่นสอบสัญชาติอเมริกัน และสิทธิพลเมืองอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ เราจะได้เงินเกษียณหลังจากการทำงานมาใช้เหมือนคนอเมริกัน ถึงเวลาที่คุณลองวางแผนชีวิตอนาคตของตัวเองหรือยัง?

“ชีวิตของเรา  ใจเราเลือกเอง”

By
Thum Ideas


แหล่งอ้างอิงข้อมูล


วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กรีนการ์ด (Green Card) คือคำตอบในการอยู่อเมริกา



มีหลายคนพอนึกถึงอนาคตทำงาน ก็นึกถึงที่อเมริกา เพราะส่วนใหญ่คิดว่าการทำงานและอยู่ที่อเมริกาทำให้ชีวิตที่ดีกว่า ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน การอยู่เมืองไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน ต่างกันที่สภาพแวดล้อม สภาพสังคม และวัฒนธรรม จึงไม่สามารถฟันธงได้ว่าอยู่ที่ไหนดีกว่ากัน เอาที่มุมมองของแต่ละคน สบายใจที่ไหนก็อยู่ที่นั้น  หากเปรียบเทียบในด้านเศรษฐกิจ ก็คงไม่มีใครคัดค้านว่าทำงานที่อเมริกาได้เงินมากกว่า ค่าครองชีพสูงกว่าก็จริง แต่ค่าครองชีพในอเมริกาแปรผันตามรายได้และสมดุล ทำให้แตกต่างจากเศรษฐกิจไทย  จึงมีคนไทยหลายคนต้องการไปทำงานและอาศัยอยูในอเมริกา

อเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจและประชาธิปไตย ทำให้มีการบังคับใช้กฏหมายกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน นโยบายของกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานก็ชัดเจนมาก หากเราจะไปทำงาน ก็ควรไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ใช่โรบินฮูด (แอบทำงานและอยู่ที่นั้น) คือ การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย และจะเป็นพลเมืองชั้น 3 ไม่มีสิทธิ์ ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เหมือนแรงงานต่างด้าวแอบมาทำงานในไทยฉันใด ก็ฉันนั้น  ทำงานแบบหลบๆ ซ่อน ๆ เลือกได้เพียงสถานที่ทำงานของคนไทย โดนคนไทยกดขี่กันเองเรื่องค่าจ้าง เพราะไม่มีทางเลือก แต่ไม่มีทางเลือกจริงหรอ?

อันดับ 1 วีซ่าท่องเที่ยว ที่ไปแล้วโดนทำงานเป็นโรบินฮูด ทำให้ตอนขอวีซ่าท่องเที่ยวของคนไทย สถานฑูตจะเข้มมาก บางคนบอกว่าได้วีซ่าท่องเที่ยว 10 ปี แล้วบินไปอเมริกา 4-6 เดือน โดยแอบทำงานด้วย ขณะถือวีซ่าท่องเที่ยว แล้วบินกลับมาที่ไทยพักสัก 2-3 เดือนแล้วบินกลับไปใหม่  ผมอยากจะบอกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศแรกที่เมื่อคุณขอวีซ่าและได้วีซ่า เป็นเพียงใบผ่านขึ้นเครื่องไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองเท่านั้น  การอนุญาตให้เข้าเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าตรวจคนเข้าเมือง  จึงไม่ต้องแปลกใจว่าหลายคนเจอปัญหา เมื่อบินไปถึงแล้วเจ้าหน้าตรวจคนเข้าเมืองปฏิเสธ แล้วให้บินกลับประเทศทันที เจ้าหน้าที่เค้ารู้ทัน ยิ่งคนไทยโดนเยอะ เจ้าหน้าที่ก็ยิ่งตรวจเข้มข้น

อันดับ 2 วีซ่านักเรียน ที่ลงทะเบียนไปเรียน หาสถาบันที่ถูก ๆ แล้วลงเรียน แต่แอบแฝงโดยการไปทำงานด้วย ในวีซ่าประเภทนี้จะตรวจสอบยากเหมือนกันว่ามีจุดประวงค์ไปแอบทำงานไหม ทำให้ตอนขอวีซ่า สถานฑูตจะดูรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะให้ผ่านหรือไม่ จึงส่งผลต่อคนที่จะไปเรียนจริง ๆ แต่สถานฑูตไม่เชื่อก็โดนปฏิเสธ  ส่วนคนที่ตั้งใจไปแอบทำงานและเรียน กลับผ่านวีซ่า บางทีโลกเบี้ยวๆ ก็ไม่มีอะไรแน่นอนกับการตัดสินใจ เดาใจยาก ถ้าเราเข้าใจวิธีการดำเนินการเอกสาร และตอบคำถามที่ถูกต้องก็ทำให้โอกาสผ่านเรามากขึ้นไปด้วย อีกทั้งสถาบันที่ลงเรียนก็เป็นส่วนสำคัญ ถามว่า งั้นเราไปวีซ่านักเรียนและแอบทำงานก็ดีกว่า ตอบให้ถูกต้อง คือ วีซ่านักเรียนไม่อนุญาตให้ทำงาน ถ้าทำงานก็ผิดกฏหมาย แต่หากเรียนมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีหนังสืออนุญาตถึงจะทำงานได้

แล้วทำไง มีวีซ่าไหนที่ทำงานได้ถูกต้องบ้างละ? วีซ่าที่ทำงานได้ เช่น J-1 Summer Work/Travel โครงการทำงานและท่องเที่ยว สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงปิดเทอม, J-1 Internship/J-1 Trainee โครงการฝึกงานตามสาขาที่เรียนมาระยะเวลา 12-18 เดือน, Work Permit เป็นวีซ่าทำงาน H2A, H2B ช่วง High Season ของนายจ้างประมาณ 4-8 เดือน จริงๆ เรามีทางเลือกหลากหลาย หากจะไปทำงานและกลับมาไทยตามโครงการและวีซ่าประเภทที่อนุญาตให้ทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมาย แต่เกณฑ์ของแต่ละโครงการก็แตกต่างกันไป พร้อมคุณสมบัติที่ทำให้หลายคนไม่ผ่านเกณฑ์ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ แล้วจะให้ทำอย่างไร? คำตอบ คือ กรีนการ์ด เป็นคำตอบที่ดีที่สุด และหลายคนอยากได้กรีนการ์ดและย้ายไปอยู่ที่อเมริกาให้ถูกต้องตามกฏหมาย ในชุมชนคนไทยในอเมริกา คนที่ได้กรีนการ์ดจะมีศักดิ์ศรีมากๆ และโชว์บ่อย ๆ ก็ถือเป็นความภูมิใจ ไม่ต้องโดนใครข่มโดยไม่มีทางเลือก และจริง ๆ การได้กรีนการ์ด ก็ได้รับสิทธิ์เทียบเท่ากับพลเมืองอเมริกัน ผมเชื่อว่าหลายคนที่สนใจเรื่อง กรีนการ์ด ศึกษาหาข้อมูลกันมาพอสมควร จริงๆ กรีนการ์ดคืออะไรกันแน่?

กรีนการ์ด หมายถึงบัตรประจำตัวผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข (Conditional Green Card) มีอายุ 2 ปี และกรีนการ์ดแบบถาวรที่ต้องต่ออายุทุก ๆ 10 ปีโดยผู้ถือกรีนการ์ดทั้งสองแบบนั้นต่างมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบเท่า ๆ กัน  ความแตกต่างระหว่างกรีนการ์ดทั้งสองแบบมีเพียงเล็กน้อย คือ กรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข จะหมดอายุภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสิทธิตั้งถิ่นฐานถาวรในสหรัฐฯ ซึ่งเขาทั้งหลายเหล่านั้นต้องยื่นเรื่องเพื่อถอดถอนเงื่อนไขนั้นออกไป  ผู้ที่จะได้รับกรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ ผู้ที่ขอมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรโดยการสมรสกับพลเมืองสหรัฐฯ ซึ่งการสมรสนั้นยังมีอายุไม่ครบ 2 ปีในวันที่ได้รับสิทธิมีถิ่นที่อยู่อย่างถาวรนั้น รวมทั้งผู้ที่ได้รับสิทธิมีถิ่นที่อยู่จากการลงทุนเพื่อการสร้างงานในสหรัฐฯ  ซึ่งการขอกรีนการ์ด สามารถทำได้ 4 เส้นทางที่เหมาะสมกับคนไทยและสถานฑูตในไทยรับรอง คือ การแต่งงานกับพลเมืองอเมริกัน, การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (Immigration through a Family Member), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงาน (Immigration through Employment), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางโครงการเสี่ยงโชคกรีนการ์ด (Immigration through the Diversity Lottery), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านการลงทุน (Immigration through Investment)  แต่กรีนการ์ดที่คนไทยยื่นขอกันมากที่สุด คือ ผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว ใช้เวลานานมากประมาณ 5-10 ปี และ การแต่งงานกับพลเมืองอเมริกัน แต่ก็สิทธิ์โดนถอดถอนสิทธิ์ได้หากพบว่าไม่ได้แต่งงานมีครอบครัวเพราะความรักจริง แต่เป็นเพียงฉากบังหน้าในการยื่นขอกรีนการ์ด  ส่วน กรีนการ์ดลอตเตอรี่ หลายคนคงได้ลองและเสี่ยงดวงซึ่งมีจำนวนจำกัดแต่ละปี ซึ่งคนไทยได้เฉลี่ยปีละ 130 คน คนร่วมเสี่ยงดวงหลายล้านคน ขึ้นอยู่กับโชคแล้ว การลงทุนก็ไม่ค่อยมีคนไทยขอผ่านเส้นทางนี้เท่าไหร่ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

อีกเส้นทางที่คนไทยไม่ค่อยยื่นกัน คือ ผ่านการจ้างงาน เพราะไม่ใช่ง่ายที่จะได้กรีนการ์ดแบบนี้ ปีที่แล้วมีคน 4 คนที่ได้กรีนการ์ดแบบนี้ ซึ่งได้กรีนการ์ดถาวร 10 ปี และต่ออายุได้ตลอด หรือ สอบเป็นพลเมืองอเมริกันได้เมื่อถือครบ 5 ปี  แล้วทางเลือกแบบนี้คนไทยไม่ทำ  ก็คงเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ดำเนินการอย่างไร เพราะนายจ้างที่จะจ้างต้องผ่านเกณฑ์ของกระทรวงแรงงานของอเมริกาเท่านั้น ซึ่งหายากมาก บางคนยังไม่รู้ว่า กรีนการ์ด ประเภทผ่านการจ้างงาน ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 12-18 เดือนเท่านั้น และยังได้วีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวร (immigration visa) จากสถานฑูตอเมริกาที่ไทยก่อนเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองจะเปลี่ยนให้บัตรกรีนการ์ดกับเราทันที ไม่ต้องไปนั่งรอลุ้นระหว่างอยู่อเมริกา เพราะทุกขั้นตอนได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ก่อนไป  จะไปทั้งครอบครัว หรือ ไปคนเดียว ก็ทำได้ และได้กรีนการ์ดครบทุกคน และที่สำคัญมีงานที่รับรองให้ทำอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไปถึงมีงานทำทันที ถ้าถามว่ากรีนการ์ดแบบไหนดีกว่ากัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กรีนการ์ดแบบผ่านการจ้างงาน ดีกว่าและเหมาะกับคนไทยที่ต้องการไปทำงานอาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฏหมายเฉกเช่นพลเมืองอเมริกัน  แล้วถ้าเป็นคุณ จะเลือกแบบไหน?

อยากเป็นพญาอินทรีย์ ก็ให้เป็นแบบพญาอินทรีย์ อย่าไปเป็นช้างในดงพญาอินทรีย์ เพราะถึงจะใหญ่แค่ไหน ก็ไม่มีความหมายเลย”

By
Thum Ideas

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ฝึกงานต่างประเทศ Internship ดีไหม?


คนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ การศึกษาและประสบการณ์ไม่ได้จำกัดที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกต่อไป การที่มีอิสระทางความคิด การพูด ทำให้มีทั้งข้อคิดเห็นที่แตกต่างออกไป โดยเข้าใจและยอมรับความแตกต่างนั้น เฉกเช่นมหาวิทยาลัยที่เรียนจบมา การเปรียบเทียบและวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดีในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ แต่หากจะทดสอบความพร้อมของผู้ที่จบการศึกษามาแล้วนั้น คนข้างนอกนั่นแหละที่จะบอกว่า ตรงตามความต้องการหรือไม่


หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต โอกาสในการไปหาประสบการณ์ต่างประเทศนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง แต่ปัจจุบันไม่ใช่ โอกาสมีอยู่ทั่วไป อยู่ที่ว่าเราจะวิ่งไปหาโอกาสนั้น หรือ รอให้โอกาสนั้นมาหา อยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น มีคำถามมากมายว่า ไปฝึกงานต่างประเทศดีไหม เราไปได้จริงๆ หรอ และไปแล้วกลัวทำไม่ได้  สิ่งแรกที่เราต้องตอบตัวเองในคำถามเหล่านี้ คือ เราพร้อมหรือยัง? ถ้าเราคิดว่าเราพร้อมแล้ว เหตุผลอื่น ๆ เป็นเหตุผลรองทั้งสิ้น เพราะถ้าใจเราพร้อมซะอย่าง อะไรที่ขวางเราไม่ได้ ทุกอย่างสามารถพัฒนาและมีทางออกเสมอ  ลองคิดดู ถ้าเราเจอปัญหาอะไรก็ตาม เราบอกว่า เราไม่ไหว เราแก้ไม่ได้ หรือ ให้เพื่อนแก้ให้ดีกว่า  หากเราคิดแบบนี้ จะเกิดอะไรขึ้น? ใช่... เราจะไม่เดินต่อไป เราจะหยุดอยู่กับที่ และรอเวลา  แล้วเวลาที่เราปล่อยผ่านไปแต่ละวัน โอเคใช่ไหม? ใช่... ถ้าโอเค และมีความสุขกับที่เราเป็นอยู่ แค่นี้ก็โอเคนะ  เพราะการเรียนจบมาแล้วได้ทำงานที่ชอบและมีความสุขแล้วถือว่าดีทีเดียว  แต่หากเรากำลังค้นหาตัวเองอยู่ว่าเราเหมาะกับอะไร  คำถามคือ เราได้ลองอะไรมาบ้างแล้ว?


การฝึกงาน ทำงานในประเทศ เราได้เรียนรู้วิธีการทำงาน วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร แนวคิดในการทำงานนั้น ๆ และผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในการทำงานและปรับตัว  ถามว่า แค่นี้เพียงพอไหม สำหรับสังคมโลกปัจจุบัน? เราก็มีสองทางเลือก หากเราทำงานเฉพาะกับคนไทยเท่านั้น ไม่ต้องการทำงานกับชาวต่างชาติ เราคิดว่าพอ? ถ้าเราทำงานกับต่างชาติในประเทศด้วย เราคิดว่าไม่พอ? คำว่า "พอ" หรือ "ไม่พอ" ไม่ได้วัดกันที่ต่างชาติ แต่วัดกันที่แนวคิดของเราเอง  เพราะไม่ว่าการทำงานจะทำกับใครก็ตาม หากมีหลากหลายแนวคิด หลากหลายวัฒนธรรม ก็เหมือนรู้เข้า รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง  แล้วทำไมเราจะไม่เรียนรู้เพิ่มเติม?


คิดว่าเราพร้อมแล้วละ? เราอยากไปฝึกงาน ทำงานต่างประเทศแล้วไงต่อ? คำถามแบบนี้ เราต้องกลับไปถามตัวเองอีกรอบว่า "เราพร้อมแล้วจริงหรือเปล่า?" เพราะถ้าเราพร้อมจริง ๆ ข้อมูลเรามีพอสมควรแล้ว การไปฝึกงาน จริง ๆ เราไปฝึกได้ทั่วโลกเลยนะ อยู่ที่ว่าเราอยากไปฝึกงานที่ไหน? ตามสถิติทุกคนก็พอจะเดาได้ว่า ประเทศไหนที่ไปฝึกมากที่สุด? แน่นอน...ประเทศสหรัฐอเมริกา! เหตุผล หลากหลาย ในเมื่ออยากไป เราจะมีเหตุผลของตัวเองมาสนับสนุน  แต่จากที่ประเมินส่วนใหญ่  ฝึกงาน หรือ ทำงานที่อเมริกาได้เงิน น่าจะเป็นเหตุผลหลักของการเลือกประเทศ  ถึงแม้บางสาขาฝึกงานไม่ได้เงิน แต่หลากคนบอกประสบการณ์สำคัญกว่า ข้อนี้สำคัญที่สุด! การฝึกงาน หรือ ทำงานในช่วงเวลา 12-18 เดือน เป็นช่วงที่เราเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงาน แนวคิด การบริหารจัดการ เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานของเรา  ในสังคมปัจจุบันประสบการณ์สำคัญมากไม่น้อยไปกว่าทฤษฏีที่เรียนมา จึงไม่แปลกใจทำไมในต่างประเทศคนที่เป็นเจ้าของกิจการใหญ่โตไม่ได้จบ ป. โท หรือ ป. เอก แต่มีทีมงานระดับ ป. โท และ ป. เอก เพราะสิ่งที่เค้ามีคือประสบการณ์


การเริ่มต้นหาข้อมูล ไม่ได้ยาก แต่ก็ไม่ง่าย ขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละคน  เรียนจบจากมหาวิทยาลัยไหนไม่สำคัญ สำคัญที่ตัวเราเองมากกว่า  ไม่เชื่อ ลองทดสอบดู! เราเคยสมัครงานในอเมริกาไหม? เปลี่ยนคำถามใหม่... เราเคยเข้าเว็บไซต์แล้วเจองานที่เปิดรับสมัครในอเมริกาไหม? งานที่เปิดรับในอเมริกาเยอะมาก... แต่สังเกตไหม ทำไมมีเยอะขนาดนี้ แล้วยังมีคนตกงาน? คนอเมริกันส่วนใหญ่จะเลือกทำงานที่สบาย เน้นการทำงานในออฟฟิต ไม่ค่อยชอบงานบริการ  เราจะสังเกตงานเปิดรับสมัครเยอะ จะเป็นงานบริการเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นเราเรียนจบสาขาอะไรมา? ถ้าเรียนสาขาบัญชี บริหาร นักกฏหมาย คู่แข่งในการสมัครงานคือ คนอเมริกันส่วนใหญ่  แต่ถ้าเราเรียนสาขา การโรงแรม, คหกรรม, เกษตรกรรม คู่แข่งของเรา คือ ประเทศต่าง ๆ ที่อยากไปฝึกงานในอเมริกา  สังเกตว่านี้คือสนามแข่งขันระดับโลก ถ้าเราผ่านจุดนี้ไปได้ เราจะแกร่งขึ้นในทุกเวทีที่เราอยู่


แล้ววีซ่าละ? ไปทำงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยวหรอ? ผิดกฏหมายแน่นอน! การฝึกงาน Internship สามารถเข้าร่วมได้โดยวีซ่า J-1 สามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมาย เราไปไหน ทำอะไร คิดเสมอว่า อยู่อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและสบายใจที่สุด  แล้วทำเองได้ไหม? ได้ แต่ต้องมี US Sponsor รับรอง... จริง ๆ โครงการฝึกงานต่างประเทศนั้น เป็นโครงการของรัฐบาลอเมริกาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ US Sponsor จะมี Partner ในแต่ละประเทศ เพื่อให้บริการ เหมือนโครงการ Summer Work/Travel  สำหรับประเทศไทยโครงการฝึกงานมีเอเจนที่ทำค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จำกัดบางสาขามีประมาณ 8 เอเจน และที่ไม่จำกัดสาขามีเพียง 2 เอเจนเท่านั้น  ทำไมมีน้อย ยากใช่ไหม? จะตอบว่าใช่ก็ใช่ จะตอบว่าไม่ใช่ก็ไม่ใช่  ส่วนสำคัญอยู่ที่การทำงานให้ตรงสาขา นั่นคือ การหางานให้ได้นั่นเอง ส่วนที่เหลือหลังจากได้งาน เป็นส่วนที่เอเจนต้องมีความรู้ในการทำ training plan ร่วมกับนายจ้างในสาขานั้น ๆ จึงควรมีความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชานั้น ๆ ด้วยนั่นเอง


บอกแล้วว่า สิ่งที่สำคัญ คือ เราพร้อมไหม? ถ้าเราพร้อมสิ่งอื่น เป็นเรื่องรอง ทุกอย่างสามารถพัฒนาและค้นคว้าได้  โอกาสอยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น เราลองจำช่วงเวลาที่เราเตรียมตัวและปัจจุบันนี้เขียนจดหมายถึงตัวเองในอีก 1 ปีข้างหน้า แล้วมาอ่านเทียบกับเมื่อเรากลับมาจากฝึกงานต่างประเทศ  แนวคิดเราเปลี่ยนไปจากตอนนี้จริงไหม?


"อย่ากลัวในสิ่งที่เราไม่เคยทำ จงกลัวในความกลัวที่เราจะไม่ทำ"


By

Thum Ideas


วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โครงการ Summer Work and Travel ดีจริง หรือ แย่กันแน่?




บางครั้งการมองกลับมาดูในสิ่งที่เราเคยผ่านมาหลายๆ ปี ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น จากการที่เราเจอกับตัวเองในตอนนั้น ความสึกรู้ไม่เหมือนกัน หลายคนพูดคุยกันโดยใช้เหตุผลต่างๆ นานา ว่าโครงการนี้ดีและไม่ดี  โดยใช้ประสบการณ์จากตัวเองโดยตรง หรือจากคนสนิทที่รู้จักเล่าให้ฟัง เราก็เลือกที่จะเชื่อ หรือไม่เชื่อตามความคิดที่คล้อยตามหรือขัดแย้งจากสิ่งที่เราได้พบเห็น หรือได้ฟัง ใช่ไหมครับ?

ผมมองว่าโครงการ Summer Work and Travel เป็นโครงการที่มีเจตนาที่ดีของรัฐบาลอเมริกา เพื่อใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรรมของคนอเมริกัน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ โดยใช้อเมริกาเป็นศูนย์กลาง ทำให้คนอเมริกันเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างของคนอื่นมากขึ้น เพราะมีการอยู่ร่วมกันของคนหลายเชื้อชาติในประเทศมหาอำนาจแห่งนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โครงการนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในอเมริกา และประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีสถิตินักศึกษาเข้าร่วมโครงการปีละมากกว่า 4,000 คน ทั้งๆ ที่สถิติการจ้างแรงงานในอเมริกาก็ยังไม่ค่อยดีนัก ทำไมนักศึกษาไทยจำนวนมากจึงอยากเข้าร่วมโครงการมากขนาดนี้? คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ คือ อยากไปทำงานต่างประเทศและหาเงิน ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของนักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการใช่ไหม? ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างงาน การทำงานกับนายจ้างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน และอื่น ๆ ไม่ได้เกิดเฉพาะคนไทยที่เข้าร่วมโครงการ ยังมีรัสเซีย จีน จาเมกา พิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ ที่พบปัญหาต่าง ๆ จนทำให้ ปี 2557 สภาครองเกสต้องกำหนดมาตรฐานโครงการใหม่ และให้คัดเลือก US Sponsor ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น พร้อมไม่เพิ่ม US Sponsor ใหม่ ทำให้การเข้าร่วมโครงการเพิ่มการคัดเลือกมากยิ่งขึ้นตามมาตรฐานของแต่ละองค์กร คำถามคือแล้วผลลัพธ์ออกมาดีขึ้นหรือไม่? 

ประเทศไทยได้เปลี่ยนช่วงเปิด-ปิดเทอมใหม่ ทำให้ได้รับผลกระทบจากโควตาจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในปี 2558 เป็นต้นไป เนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เป็นช่วง Summer ของอเมริกา และหลายๆ ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้มีการแข่งขันและคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการมากขึ้น แต่ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการจริงใช่ไหม? ความพร้อมไม่ใช่เก่งภาษาอังกฤษ แต่ความพร้อม คือ ความพร้อมทั้งความคิด และการเตรียมตัว สังเกตง่ายๆ นักศึกษาส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอย่างไร? ส่วนใหญ่จะไป เพราะเพื่อนพาไป เลยเลือกที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ถามว่า แล้วถ้าเกิดปัญหาจะแก้ไขอย่างไร? อ่อให้เพื่อนจัดการให้! ถ้ามองกันอย่างเป็นกลาง สมมุติเราเป็นนายจ้างรับพนักงานมาทำตำแหน่ง Hostess แต่คุยกับลูกค้าไม่รู้เรื่อง หรือคุยกับเพื่อนร่วมงานไม่รู้เรื่อง เราควรรับทำงานต่อไหม ในเชิงธุรกิจ? ฉันใดก็ฉันนั้น นักศึกษาก็ต้องการงานที่ดี ๆ สบายๆ แต่เราพร้อมแล้วจริงหรอ? พอเกิดปัญหาขึ้น ว่าได้จำนวนชั่วโมงงานน้อย โดนไล่ออก จะเปลี่ยนงานใหม่ เพราะได้งานที่ดีกว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักศึกษาไทยทุกปี แต่แปลกใจมากที่นักศึกษาจากประเทศอื่นๆ ปัญหาเหล่านี้กลับลดลงเรื่อย ๆ  เหตุเพราะเรายังไม่เดินไปตามทางที่ควรจะเดิน เหมือนที่อื่นเค้าทำกันไงละครับ!

เอเจนที่ดำเนินการโครงการนี้ ปัจจุบันมีทั้งหมด 19 เอเจน พร้อมที่จะเปิดใหม่และปิดตัวไปทุกปี เหตุที่ปิดอาจเพราะโดนนักศึกษาถล่ม แล้วไปเปิดชื่อใหม่ หรือไม่อยากทำแล้ว หรือถ้าเปิดใหม่ก็เพราะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ผมเข้าใจว่าเป็นธุรกิจ แต่อย่างหนึ่งที่เราไม่ควรพลาด คือ โครงการ Summer Work and Travel มีจุดประสงค์ให้ออกไปหาประสบการณ์ และเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ติดตัวเราให้นำไปใช้ในอนาคต ดังนั้นการดำเนินการต่างๆ ควรทำบนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ใช่การสร้างฝันให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เพราะเมื่อไม่เป็นไปตามที่สร้างฝัน หรือ คาดหวัง สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ คือ โครงการนี้แย่ ไม่ดี ที่ทำให้เกิดแบบนี้เพราะเราพลาดความจริงที่ต้องเข้าใจในโครงการ

แล้วความจริง คือ อะไร? 
คนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการควรเข้าใจโครงการก่อน และเอเจนก็ควรเข้าใจเช่นเดียวกั

ข้อแรก โครงการมีจุดประสงค์ให้เราไปหาประสบการณ์ชีวิต ไม่ใช่ไปหาเงินกลับมาที่ไทย ถ้าจะไปหาเงิน ลองคำนวณดู ทำงานที่ไทยได้เงินมากกว่าแน่นอนในระยะเวลา 3 เดือน เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการร่วมโครงการ ค่าตั๋วเครื่องบิน และจิปาถะอื่นๆ 

ข้อสอง ถ้าเข้าใจข้อแรกดีแล้ว มาวางแผนกันว่า เราเหมาะกับงานอะไร แล้ววัดกันยังไง? ถามผมก็คงบอกอะไรไม่ได้ เพราะคนเราชอบไม่เหมือนกัน แต่งานบ้างงานเราไม่กล้าทำที่ไทยเพราะกลัวคนดูถูก ซึ่งจริงๆ เป็นอะไรบ้างอย่างมาปิดกั้นความสามารถของเราไว้  ลองทำงานที่ไม่เคยทำดู และไม่ต้องใช้ภาษามากก็ได้ แล้วจะได้เรียนรู้ในหลายมุม เราจะเข้าใจคนอื่นๆ มากขึ้น ทำงานตำแหน่งอะไรในโครงการนี้หนักเหมือนกัน 'ยิ่งเป็นคนเลือกมาก ยิ่งเจองานที่ทำแล้วไม่มีความสุข' เพราะโลกเรา คนที่มีลักษณะเหมือนกัน มักหมุนเวียนไปพบกันเสมอ 'อยากเจอคนแบบไหน ก็ทำตัวเป็นคนแบบนั้น' 

ข้อสาม ถ้าเข้าใจข้อแรกและข้อสอง แปลว่าความคิดเราเริ่มเปลี่ยน มองในมุมที่แตกต่างออกไป เคยสังเกตไหม ทำไมคนชาติตะวันตกมีแนวคิดเจ๋งๆ กัน ก็เริ่มจากการคิดอะไรที่นอกกรอบ เจอกับอะไรที่ไม่เคยเจอ ทำให้คิดแบบที่คนอื่นไม่เคยคิดไงละ คิดได้แล้วก็มาค้นหาเอเจนที่เราจะไปด้วยกัน ก็ไม่ยากไป Google ดูขึ้นมาเยอะเลย มีทั้งคำชมและคำต่อว่า ปะปนกันไป แล้วจะเลือกยังไง? สมัยนี้เค้าไม่ได้ดูที่ออฟฟิตกันแล้วว่าอยู่ไหน เพราะจะอยู่กรุงเทพ ไปพบเจอมา หรือ อยู่เชียงใหม่ไม่ได้เจอ ก็ไม่ต่างกันตอนไปถึงที่อเมริกา ต่างกันที่การบริหารจัดการมากกว่า และควรดูที่การนำเสนอข้อมูล การตอบคำถาม ลักษณะการทำงาน แน่นอนทุกที่อยากขายมากๆ แต่จะมีกี่ที่จะคัดเลือกที่ความพร้อมของนักศึกษา โดยให้คำแนะนำและเตรียมตัว ที่สำคัญไม่เกี่ยวกับราคา เพราะต้นทุนค่าโครงการไม่ต่างกันมาก ถ้าแพงมากอาจบริการดี? หรือถ้าถูกอาจบริการแย่? อาจไม่ใช่เลยก็ได้ แล้วยังไงดี? ดูง่าย ๆ งานที่เค้าแนะนำมา มีจริงใช่ไหม เพราะส่วนใหญ่โฆษณางานเยอะมาก สุดท้ายรับนักศึกษามาเยอะไม่รู้ทำยังไง ก็บีบให้เอางานที่เค้ามี หรือ ส่งต่อไปเรื่อยๆ ถ้าเจอที่ดีก็ดีไป ดังนั้น ถ้าเค้าตอบตรงไปตรงมาว่ามี หรือ ไม่มี ก็ชัดเจนทำให้เชื่อใจได้มากกว่า แล้วลองถามต่อว่า ถ้างานที่ได้โดนยกเลิก เค้าจะช่วยแก้ไขปัญหาให้เรายังไง ถ้าตอบว่าองค์กร หรือ US Sponsor แก้ไขให้ แสดงว่าเรามีโอกาสโดนตัดหางปล่อยวัดหลังจากขึ้นเครื่องแล้ว ถ้าตอบว่าเค้าจะช่วยเหลือตลอด ก็เชื่อได้ครึ่ง เพราะทุกที่จะพูดแบบนี้ ถ้าตอบว่าเค้าประสานงานเอง หรือ มีบริษัทที่อเมริกาชัดเจน เราก็จะเลือกที่นี่ละ เพราะถ้ามีปัญหามีคนช่วยแนะนำเราในการแก้ไขปัญหาแน่นอน แต่สิ่งที่เตือนใจเสมอ คือ 'ตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน'

ข้อสี่ งานทุกงานมีจุดเด่น และจุดด้อยในตัว การเลือกงาน ต้องเข้าใจว่า มีช่วง High และ Low แต่เฉลี่ยแล้วควรได้ 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยใช้ 3 เดือนมาเฉลี่ย ไม่ใช่เอาเฉพาะช่วง Low และงานที่รับจำนวนมาก ต้องเป็นนายจ้างใหญ่ๆ ถ้าไปดูแล้วเป็นนายจ้างเล็ก แต่รับเยอะ ถอยทันที เพราะชั่วโมงงานได้น้อยชัวร์  บ้านพักต้องได้ 2 คนต่อห้อง ถ้าอยากอยู่คนเดียวก็จ่ายเพิ่ม ถ้าเป็นที่แออัดถอยเลย เพราะงานก็แย่งกัน ที่อยู่ก็แย่งกันอีก ไม่เหมาะกับการมาหาประสบการณ์แบบนี้ ถึงได้บ้านไกลจากที่ทำงาน แต่เหมาะกับคุณภาพชีวิตของเรา ก็ดีกว่าอยู่แบบใกล้ๆ แต่สภาพแวดล้อมไม่ดี ชีวิตเราต้องอยู่แบบปลอดภัย อย่าเสี่ยงเพราะเห็นว่าใกล้และราคาถูก

ข้อห้า เตรียมตัว เตรียมความพร้อมทั้งการสัมภาษณ์ ให้เวลาสักนิดจะได้ไม่พลาด อย่าไปเชื่อเพื่อนมากกว่าเชื่อตัวเอง สงสัยอะไร หาข้อมูลให้เรียบร้อย บางคนเจอเพื่อนหลอกให้โอนเงินให้ แล้วไม่โอนเข้าโครงการ หรือ ไม่โอนไปจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน บอกเลยเรื่องเงิน ให้ทำเองและโอนไปให้ถูกตามที่บริษัทแจ้ง 'อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง' ตรวจสอบให้ดี ๆ  ส่วนตั๋วเครื่องบินจองก่อนได้ราคาถูกกว่าแน่นอน ลอง Google ดู 'ตั๋วนักเรียน' แนะนำหาไว้แต่เนิ่น ๆ จองไว้ก่อนได้ไม่เสียเงินค่าจอง ที่ไหนเรียกเก็บแปลว่ามัดมือชกให้เราถอยๆ ตั้งหลัก ถ้าอยากรู้ว่าน่าเชื่อถือไหม ถามเอเจนเลยว่า เป็น IATA Agent ไหม? ถ้าเป็น ขอเลขสมาชิกเลย xx-xxxxxx รูปแบบนี้ที่ถูกต้อง ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องระวังตอนซื้อละกันอาจได้ตั๋วปลอมหรือโก่งราคา

ถ้าอ่านมาไกลถึงข้อห้า แสดงว่ารู้แล้วว่าโครงการ Summer Work and Travel ดีจริง หรือ แย่กันแน่? ขึ้นอยู่กับคนที่มองแต่ละมุม แต่ลองมองหลายๆ มุม มาบวก/ลบ/คูณ/หาร แล้วจะได้คำตอบของตัวเองว่าเราจะเดินต่อไปหรือจะอยู่ที่เดิม 'ประสบการณ์ชีวิต ไม่ว่าจะดี หรือ ร้าย มันก็คือ สิ่งเตือนใจให้เราเรียนรู้และก้าวไปข้างหน้าในอนาคตอย่างมั่นคง'

By
Thum Ideas