มีหลายคนพอนึกถึงอนาคตทำงาน ก็นึกถึงที่อเมริกา
เพราะส่วนใหญ่คิดว่าการทำงานและอยู่ที่อเมริกาทำให้ชีวิตที่ดีกว่า
ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน การอยู่เมืองไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน
ต่างกันที่สภาพแวดล้อม สภาพสังคม และวัฒนธรรม จึงไม่สามารถฟันธงได้ว่าอยู่ที่ไหนดีกว่ากัน
เอาที่มุมมองของแต่ละคน สบายใจที่ไหนก็อยู่ที่นั้น หากเปรียบเทียบในด้านเศรษฐกิจ
ก็คงไม่มีใครคัดค้านว่าทำงานที่อเมริกาได้เงินมากกว่า ค่าครองชีพสูงกว่าก็จริง
แต่ค่าครองชีพในอเมริกาแปรผันตามรายได้และสมดุล ทำให้แตกต่างจากเศรษฐกิจไทย จึงมีคนไทยหลายคนต้องการไปทำงานและอาศัยอยูในอเมริกา
อเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจและประชาธิปไตย ทำให้มีการบังคับใช้กฏหมายกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
นโยบายของกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานก็ชัดเจนมาก หากเราจะไปทำงาน
ก็ควรไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ใช่โรบินฮูด (แอบทำงานและอยู่ที่นั้น) คือ
การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย และจะเป็นพลเมืองชั้น 3 ไม่มีสิทธิ์
ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ เหมือนแรงงานต่างด้าวแอบมาทำงานในไทยฉันใด ก็ฉันนั้น ทำงานแบบหลบๆ ซ่อน ๆ
เลือกได้เพียงสถานที่ทำงานของคนไทย โดนคนไทยกดขี่กันเองเรื่องค่าจ้าง
เพราะไม่มีทางเลือก แต่ไม่มีทางเลือกจริงหรอ?
อันดับ 1 วีซ่าท่องเที่ยว ที่ไปแล้วโดนทำงานเป็นโรบินฮูด ทำให้ตอนขอวีซ่าท่องเที่ยวของคนไทย
สถานฑูตจะเข้มมาก บางคนบอกว่าได้วีซ่าท่องเที่ยว 10 ปี
แล้วบินไปอเมริกา 4-6 เดือน โดยแอบทำงานด้วย ขณะถือวีซ่าท่องเที่ยว
แล้วบินกลับมาที่ไทยพักสัก 2-3 เดือนแล้วบินกลับไปใหม่ ผมอยากจะบอกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นประเทศแรกที่เมื่อคุณขอวีซ่าและได้วีซ่า
เป็นเพียงใบผ่านขึ้นเครื่องไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองเท่านั้น การอนุญาตให้เข้าเมืองหรือไม่
ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าตรวจคนเข้าเมือง
จึงไม่ต้องแปลกใจว่าหลายคนเจอปัญหา เมื่อบินไปถึงแล้วเจ้าหน้าตรวจคนเข้าเมืองปฏิเสธ
แล้วให้บินกลับประเทศทันที เจ้าหน้าที่เค้ารู้ทัน ยิ่งคนไทยโดนเยอะ
เจ้าหน้าที่ก็ยิ่งตรวจเข้มข้น
อันดับ 2 วีซ่านักเรียน ที่ลงทะเบียนไปเรียน หาสถาบันที่ถูก ๆ แล้วลงเรียน
แต่แอบแฝงโดยการไปทำงานด้วย ในวีซ่าประเภทนี้จะตรวจสอบยากเหมือนกันว่ามีจุดประวงค์ไปแอบทำงานไหม
ทำให้ตอนขอวีซ่า สถานฑูตจะดูรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะให้ผ่านหรือไม่
จึงส่งผลต่อคนที่จะไปเรียนจริง ๆ แต่สถานฑูตไม่เชื่อก็โดนปฏิเสธ ส่วนคนที่ตั้งใจไปแอบทำงานและเรียน
กลับผ่านวีซ่า บางทีโลกเบี้ยวๆ ก็ไม่มีอะไรแน่นอนกับการตัดสินใจ เดาใจยาก
ถ้าเราเข้าใจวิธีการดำเนินการเอกสาร และตอบคำถามที่ถูกต้องก็ทำให้โอกาสผ่านเรามากขึ้นไปด้วย
อีกทั้งสถาบันที่ลงเรียนก็เป็นส่วนสำคัญ ถามว่า งั้นเราไปวีซ่านักเรียนและแอบทำงานก็ดีกว่า
ตอบให้ถูกต้อง คือ วีซ่านักเรียนไม่อนุญาตให้ทำงาน ถ้าทำงานก็ผิดกฏหมาย
แต่หากเรียนมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีหนังสืออนุญาตถึงจะทำงานได้
แล้วทำไง มีวีซ่าไหนที่ทำงานได้ถูกต้องบ้างละ? วีซ่าที่ทำงานได้
เช่น J-1 Summer Work/Travel โครงการทำงานและท่องเที่ยว
สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงปิดเทอม, J-1 Internship/J-1 Trainee โครงการฝึกงานตามสาขาที่เรียนมาระยะเวลา
12-18 เดือน, Work Permit เป็นวีซ่าทำงาน H2A, H2B ช่วง High
Season ของนายจ้างประมาณ 4-8 เดือน จริงๆ เรามีทางเลือกหลากหลาย
หากจะไปทำงานและกลับมาไทยตามโครงการและวีซ่าประเภทที่อนุญาตให้ทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมาย
แต่เกณฑ์ของแต่ละโครงการก็แตกต่างกันไป
พร้อมคุณสมบัติที่ทำให้หลายคนไม่ผ่านเกณฑ์ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
แล้วจะให้ทำอย่างไร? คำตอบ คือ กรีนการ์ด เป็นคำตอบที่ดีที่สุด
และหลายคนอยากได้กรีนการ์ดและย้ายไปอยู่ที่อเมริกาให้ถูกต้องตามกฏหมาย ในชุมชนคนไทยในอเมริกา
คนที่ได้กรีนการ์ดจะมีศักดิ์ศรีมากๆ และโชว์บ่อย ๆ ก็ถือเป็นความภูมิใจ
ไม่ต้องโดนใครข่มโดยไม่มีทางเลือก และจริง ๆ การได้กรีนการ์ด
ก็ได้รับสิทธิ์เทียบเท่ากับพลเมืองอเมริกัน ผมเชื่อว่าหลายคนที่สนใจเรื่อง
กรีนการ์ด ศึกษาหาข้อมูลกันมาพอสมควร จริงๆ กรีนการ์ดคืออะไรกันแน่?
กรีนการ์ด
หมายถึงบัตรประจำตัวผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ กรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข (Conditional Green Card) มีอายุ
2 ปี และกรีนการ์ดแบบถาวรที่ต้องต่ออายุทุก ๆ 10
ปีโดยผู้ถือกรีนการ์ดทั้งสองแบบนั้นต่างมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบเท่า ๆ
กัน
ความแตกต่างระหว่างกรีนการ์ดทั้งสองแบบมีเพียงเล็กน้อย คือ
กรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข จะหมดอายุภายใน 2 ปี
นับแต่วันที่ได้รับสิทธิตั้งถิ่นฐานถาวรในสหรัฐฯ
ซึ่งเขาทั้งหลายเหล่านั้นต้องยื่นเรื่องเพื่อถอดถอนเงื่อนไขนั้นออกไป ผู้ที่จะได้รับกรีนการ์ดแบบมีเงื่อนไข ได้แก่
ผู้ที่ขอมีสิทธิอยู่อาศัยถาวรโดยการสมรสกับพลเมืองสหรัฐฯ
ซึ่งการสมรสนั้นยังมีอายุไม่ครบ 2
ปีในวันที่ได้รับสิทธิมีถิ่นที่อยู่อย่างถาวรนั้น
รวมทั้งผู้ที่ได้รับสิทธิมีถิ่นที่อยู่จากการลงทุนเพื่อการสร้างงานในสหรัฐฯ ซึ่งการขอกรีนการ์ด สามารถทำได้ 4 เส้นทางที่เหมาะสมกับคนไทยและสถานฑูตในไทยรับรอง
คือ การแต่งงานกับพลเมืองอเมริกัน, การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว
(Immigration through a
Family Member), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางการจ้างงาน (Immigration through Employment), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านทางโครงการเสี่ยงโชคกรีนการ์ด
(Immigration through the
Diversity Lottery), การขอตั้งถิ่นฐานโดยผ่านการลงทุน (Immigration through Investment) แต่กรีนการ์ดที่คนไทยยื่นขอกันมากที่สุด คือ
ผ่านทางสายสัมพันธ์ทางครอบครัว ใช้เวลานานมากประมาณ 5-10 ปี
และ การแต่งงานกับพลเมืองอเมริกัน
แต่ก็สิทธิ์โดนถอดถอนสิทธิ์ได้หากพบว่าไม่ได้แต่งงานมีครอบครัวเพราะความรักจริง
แต่เป็นเพียงฉากบังหน้าในการยื่นขอกรีนการ์ด
ส่วน กรีนการ์ดลอตเตอรี่ หลายคนคงได้ลองและเสี่ยงดวงซึ่งมีจำนวนจำกัดแต่ละปี
ซึ่งคนไทยได้เฉลี่ยปีละ 130 คน คนร่วมเสี่ยงดวงหลายล้านคน
ขึ้นอยู่กับโชคแล้ว การลงทุนก็ไม่ค่อยมีคนไทยขอผ่านเส้นทางนี้เท่าไหร่
เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
อีกเส้นทางที่คนไทยไม่ค่อยยื่นกัน คือ
ผ่านการจ้างงาน เพราะไม่ใช่ง่ายที่จะได้กรีนการ์ดแบบนี้ ปีที่แล้วมีคน 4 คนที่ได้กรีนการ์ดแบบนี้
ซึ่งได้กรีนการ์ดถาวร 10 ปี
และต่ออายุได้ตลอด หรือ สอบเป็นพลเมืองอเมริกันได้เมื่อถือครบ 5 ปี แล้วทางเลือกแบบนี้คนไทยไม่ทำ ก็คงเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
ดำเนินการอย่างไร เพราะนายจ้างที่จะจ้างต้องผ่านเกณฑ์ของกระทรวงแรงงานของอเมริกาเท่านั้น
ซึ่งหายากมาก บางคนยังไม่รู้ว่า กรีนการ์ด ประเภทผ่านการจ้างงาน
ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 12-18
เดือนเท่านั้น และยังได้วีซ่าย้ายถิ่นฐานถาวร (immigration visa) จากสถานฑูตอเมริกาที่ไทยก่อนเดินทาง
เมื่อเดินทางไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองจะเปลี่ยนให้บัตรกรีนการ์ดกับเราทันที
ไม่ต้องไปนั่งรอลุ้นระหว่างอยู่อเมริกา
เพราะทุกขั้นตอนได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ก่อนไป จะไปทั้งครอบครัว หรือ ไปคนเดียว ก็ทำได้
และได้กรีนการ์ดครบทุกคน และที่สำคัญมีงานที่รับรองให้ทำอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
ไปถึงมีงานทำทันที ถ้าถามว่ากรีนการ์ดแบบไหนดีกว่ากัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
กรีนการ์ดแบบผ่านการจ้างงาน ดีกว่าและเหมาะกับคนไทยที่ต้องการไปทำงานอาศัยอยู่ในอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฏหมายเฉกเช่นพลเมืองอเมริกัน แล้วถ้าเป็นคุณ จะเลือกแบบไหน?
“อยากเป็นพญาอินทรีย์
ก็ให้เป็นแบบพญาอินทรีย์ อย่าไปเป็นช้างในดงพญาอินทรีย์ เพราะถึงจะใหญ่แค่ไหน
ก็ไม่มีความหมายเลย”
By
Thum Ideas
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น